บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2018

อาหารจากมะพร้าว

รูปภาพ
ของคาว                                                                                                                                ภาพที่ 18 ห่อหมกทะเลในลูกมะพร้าวอ่อน                                                                                                                           (ที่มา : https://pantip.com/topic/36359017)              เป็นการทำห่อหมกในลูกมะพร้าว จะได้กลิ่นหอมของมะพร้าวอ่อน เป็นการนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ในการอาหารได้อย่างคุ้มค่า ส่วนผสมในการทำ        1) เนื้อปลาขูด 1 ถ้วย        2) น้ำพริกแกงเผ็ด (เพิ่มกระชายตำ) 4-5 ช้อนโต๊ะ        3) ไข่ไก่ 2 ฟอง        4) กะทิ 1 กล่อง        5) กุ้ง ปลา และปลาหมึก 300 กรัม        6) ใบมะกรูดซอยฝอย 1 ช้อนโต๊ะ        7) น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ        8) น้ำปลา 3-4 ช้อนโต๊ะ        9) ใบโหระพา 1 ถ้วย       10) ลูกมะพร้าวอ่อน 2 ลูก       11) แป้งข้าวโพด       12) พริกชี้ฟ้าแดงซอย 1 เม็ด       13) ผักชี วิธีทำ        1) นำเนื้อปลาขูดมาใส่อ่างใหญ่หน่อยนะคะ แล้วใส่น้ำพริกแกงแดงที่ตำกระชายเพิ่มลงไปค่ะ

ผลิตผลมะพร้าว

รูปภาพ
น้ำมันมะพร้าว                                                                                                                                           ภาพที่ 13 น้ำมันมะพร้าว                                                                                                                (ที่มา : http://www.chicministry.com/miracle-coconut -oil/ ) น้ำมันมะพร้าว อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ        1) น้ำมันมะพร้าวทั่วไป ที่รู้จักกันทั่วไป เช่นใช้ในการทอดอาหาร หรือการผลิตอาหารต่างๆ เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตจากเนื้อมะพร้าวแห้ง (Copra) น้ำมันที่สกัดได้จะต้องผ่านขบวนการทำให้บริสุทธิ์ (Refined) การฟอกสี (Bleached) และกำจัดกลิ่น (Deodorized) ก่อนที่จะนำไปบริโภค น้ำมันชนิดนี้บางครั้งจะถูกกล่าวถึงว่าเป็น “น้ำมันธรรมชาติ” (Natural Coconut Oil) แต่ความเป็นจริงเป็นน้ำมันชนิด RBD Refined,Bleached,Deodorized) น้ำมันชนิดนี้จะมีความหนืดและมีสีเหลืองอ่อน        2) น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin Coconut Oil) รู้จักกันในชื่อ “น้ำมันมะพร้าวเวอร์จิ้น” (Virgin Coconut Oil) หรือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ

การละเล่นที่เกี่ยวกับมะพร้าว

รูปภาพ
เดินกะลา ภาพที่ 31 เดินกะลา                                                                                                               (ที่มา : http://www.nextsteptv.com/budsaba/เดินกะลา/ )               การเล่นเดินกะลา เด็กรุ่นก่อนจะชอบเล่นเดินกะลา เพราะกะลาหาง่ายมีอยู่ทั่วไป การเดินบนกะลานั้น ผู้ที่เริ่มฝึกจะรู้สึกเจ็บฝ่าเท้า เพราะความโค้งมนและความแข็งของกะลา แต่ถ้าได้ฝึกบ่อยๆ อาการเจ็บก็จะหายไป ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเท้าแข็งแรงขึ้นและยังเป็นการนวดฝ่าเท้าไปในตัวด้วย นอกจากนี้ผู้เล่นจะฝึกในเรื่องของการทรงตัว ซึ่งจะทำให้เรียนรู้เรื่องของความสมดุล หรือ Balance ไปในตัวอีกด้วย คนที่รักษาสมดุลของร่างกายได้ดีจะทรงตัวได้และมักจะถึงเส้นชัยก่อน นอกจากนี้ถ้าเล่นเดินจนเบื่อแล้วก็ยังสามารถเอามาเล่นเป็นโทรศัพท์พูดแล้วได้ยินเสียงกันได้เรียนรู้เรื่องของเสียงได้อีกด้วย อุปกรณ์การเล่น        กะลามะพร้าวคนละ 2 อัน        เชือกยาวประมาณ 1 เมตร วิธีทำ        นำกะลาที่ล้างสะอาดเจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือกแล้วร้อยเชือกผูกปมให้แน่นหนากันหลุดเวลาเดิน กติกาการเล่น          ในการ

ประวัติความเป็นมาของมะพร้าว

          มะพร้าว เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากคนไทยรู้จักใช้เนื้อมะพร้าวในการบริโภคเป็นอาหารทั้งคาวและหวานในชีวิตประจำวัน สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เคยสำรวจพบว่า ประชากรไทย 1 คน จะบริโภคเนื้อมะพร้าวประมาณปีละ 8,273.2 กรัม หรือประมาณ 18 ผล/คน/ปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีพลเมืองประมาณ 55 ล้านคน จะใช้ผลมะพร้าวประมาณ 990 ล้านผล หรือประมาณ 65% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือประมาณ 35% ของผลผลิตทั้งหมด หรือ 489 ล้านผล ใช้ในรูปของอุตสาหกรรมหรือส่งออกต่อไป อุตสาหกรรมมะพร้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ          1. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อการบริโภค เช่น อุตสาหกรรมมะพร้าวแห้งอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น อุตสาหกรรมมะพร้าวขูดแห้ง อุตสาหกรรมน้ำตาลมะพร้าว          2. ผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและอุปโภค เช่น อุตสาหกรรมเส้นใยมะพร้าว อุตสาหกรรมแท่งเพาะชำ อุตสาหกรรมเผาถ่านจากกะลามะพร้าว อุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว ผลผลิตมะพร้าวแต่ละปีจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 2,700 ล้านบาท คิดแล้วมูลค่ามหาศาล ซึ่งเราไม่ควรที่จะละเลยและ ควรเร่งหาทางในการส่งเสริมและพัฒนามะพร้าวอีกต

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

       มะพร้าว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Cocos nucifera L. อยู่ในตระกูลปาล์ม มีระบบรากเป็นฝอยและมีขนาดที่เท่ากัน แผ่กระจายอยู่รอบต้น        ลำต้น มีลำต้นเดียวไม่แตกแขนง แต่จะมีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบตลอดทั้งลำต้น สามารถคำนวณอายุของต้นมะพร้าวได้จากรอยแผล คือหนึ่งปีมะพร้าวจะสร้างใบประมาณ 12-14 ใบ รอยแผลที่ลำต้นจะมี 12-14 รอยแผล         ใบ เป็นใบประกอบออกอยู่ตามส่วนของลำต้น ประกอบด้วยก้านทางมีขนาดใหญ่และยาว มีใบย่อยบนก้านทางประมาณ 200-250 ใบ         ดอก มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียในช่อเดียวกัน ออกเป็นช่อชนิดพานิเคิล มีกลีบดอก 6 กลีบ มีสีครีมหรือสีเหลืองนวล ไม่มีก้านดอกย่อย ดอกตัวเมียจะมีกลีบดอกหนากว่ากลีบดอกตัวผู้        ผล มะพร้าวเป็นชนิดไฟบรัสดรุปหรือเรียกว่า นัท ( nut ) มีเปลือก 3 ชั้น คือ                1. เปลือกชั้นนอก เป็นเส้นใยที่เหนียวและแข็ง เมื่อแก่จะมีสีเขียวแดงหรือเหลืองน้ำตาล                2. เปลือกชั้นกลาง มีลักษณะเป็นเส้นใย มีความหนาพอประมาณ                3. เปลือกชั้นใน มีลักษณะแข็งหรือเรียกว่า กะลา         เมล็ด คือเนื้อมะพร้าว ภายในเมล็

ลักษณะทั่วไป

       มะพร้าวเป็นพืชยืนต้นใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเหมือนขนนก ลำต้นมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ไม่มีเยื่อที่สามารถเจริญเติบโตเป็นกิ่ง และเป็นไม้เนื้ออ่อนลำต้นเป็นปล้องมีเปลือกแข็งหุ้มลำต้น มีรากฝอยแผ่กว้างรอบโคนต้น มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า มักปลูกตามสวนหรือไร่นา ต้นมะพร้าวสามารถขึ้นอยู่ทุกภูมิภาค จึงมีชื่อเรียกต่างๆ คือ ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น ส่วนภาคใต้จะมีการเพาะปลูกมะพร้าวที่เยอะที่สุด จึงมีการนำมะพร้าวมาแปรรูปเพื่อประกอบอาหารคาวหวาน (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, ม.ป.ป.)

การเพาะปลูก

       การคัดเลือกสวนพันธุ์ เป็นสวนมะพร้าวพันธุ์เดียวกัน ขนาดสวนไม่น้อยกว่า 10 ไร่ อยู่ในที่ที่มีการปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพ ต้นมะพร้าวจะมีขนาดอายุที่ใกล้เคียงกัน และควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี มีการดูแลสวนปานกลาง เป็นต้นที่มีผลดก ไม่มีโรคหรือแมลงที่กำลังระบาด ควรมีการจดบันทึกการให้ผลของต้นที่คิดว่าจะใช้เป็นต้นพันธุ์ก่อนสัก 3-4 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าให้ผลดกจริง โดยทาสีไว้ที่ต้นเป็นที่สังเกตหรืออาจทำเครื่องหมายอย่างอื่น เป็นต้นที่ไม่อยู่ใกล้บ้าน คอกสัตว์หรือในที่ที่ดีกว่าต้นอื่น ลำต้นตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่ พุ่มใบเป็นรูปวงกลม หรือครึ่งวงกลม มีจำนวนทาง (ใบ) มาก โคนทางสั้นและใหญ่ มีจั่นอย่างน้อย 10 จั่น กระจายอยู่รอบต้น และทุกจั่นมีผลขนาดต่าง ๆ กันติดอยู่ ทะลายควรนั่งทางก้านทะลายสั้นและใหญ่ เป็นต้นที่มีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ให้ผลมีลักษณะกลมขนาดใหญ่ เส้นรอบของกะลาไม่ต่ำกว่า 45 ซม. เนื้อหนาเปลือกไม่หนาหรือบางเกินไป        การคัดเลือกผลพันธุ์ อาจมีบางผลที่มีลักษณะไม่เหมาะจะนำไปเพาะทำพันธุ์ เช่น ผลแตกระหว่างเก็บเกี่ยว มีโรคแมลงทำลาย จึงควรคัดเลือกผลก่อนนำไปเพาะ ซึ่งมีลักษณะการพิจารณา ควรเก็บโดยใ