ผลิตผลมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าว
ภาพที่ 13 น้ำมันมะพร้าว
(ที่มา : http://13497rongrutsamee.blogspot.com/)
ภาพที่ 16 มะพร้าวรองเท้า
ไม้กวาดทางมะพร้าว
ภาพที่ 13 น้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าว อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1) น้ำมันมะพร้าวทั่วไป ที่รู้จักกันทั่วไป เช่นใช้ในการทอดอาหาร หรือการผลิตอาหารต่างๆ เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตจากเนื้อมะพร้าวแห้ง (Copra) น้ำมันที่สกัดได้จะต้องผ่านขบวนการทำให้บริสุทธิ์ (Refined) การฟอกสี (Bleached) และกำจัดกลิ่น (Deodorized) ก่อนที่จะนำไปบริโภค น้ำมันชนิดนี้บางครั้งจะถูกกล่าวถึงว่าเป็น “น้ำมันธรรมชาติ” (Natural Coconut Oil) แต่ความเป็นจริงเป็นน้ำมันชนิด RBD Refined,Bleached,Deodorized) น้ำมันชนิดนี้จะมีความหนืดและมีสีเหลืองอ่อน
2) น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin Coconut Oil) รู้จักกันในชื่อ “น้ำมันมะพร้าวเวอร์จิ้น” (Virgin Coconut Oil) หรือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ซึ่งมีขบวนการผลิตที่พิถีพิถันมาก ที่เรียกว่า Cold Process หรือ Cold Pressed เพราะไม่มีการใช้ความร้อนเลย ทำให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพพิเศษ ที่มีกลิ่นหอม รสชาติดี อุดมด้วยวิตามิน E และสาร Antioxidants และได้รับการกล่าวขวัญว่ามีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ (sanook, 2556)
ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว
1) ช่วยควบคุมน้ำหนัก
2) ช่วยสมานผิวจากการเกิดท้องลาย
3) ทำความสะอาดผิวหน้า
4) บำรุงผิวแทนเบบี้ออย
5) หมักผมครึ่งชั่วโมง สัปดาห์ละครั้ง
6) นวดน้ำมัน
น้ำตาลมะพร้าว
ภาพที่ 14 น้ำตาลปึก (น้ำตาลมะพร้าว)
(ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/Content/32275-ระวังสารฟอกขาว%20ในน้ำตาลมะพร้าว.html)
น้ำตาลมะพร้าวเป็นน้ำตาลที่ยังคงมีน้ำผสมอยู่จึงชื้นได้ง่าย ไม่สามารถคงรูปอยู่ได้นาน มีการคืนตัวเยิ้มเหลวง่ายเมื่อเก็บไว้ที่อุณภูมิห้อง โดยเฉพาะในเวลาที่อากาศร้อนน้ำตาลจะเยิ้มเหลวเร็วมากไม่สามารถคงลักษณะรูปร่างเป็นก้อนน้ำตาลปึกได้นาน ผู้ผลิตบางรายจึงผสมน้ำตาลทรายลงไปเล็กน้อยในการเคี่ยวน้ำตาลสดเพื่อผลิตน้ำตาลปึก เนื่องจากน้ำตาลทรายมีลักษณะเป็นผลึกจึงช่วยให้น้ำตาลมะพร้าวแห้งและแข็งตัวเร็วขึ้นสามารถปั้นเป็นก้อนได้ง่าย ปริมาณน้ำตาลทรายที่มากน้อยต่างกันจะมีผลต่อรสชาติของน้ำตาลมะพร้าว
โคมไฟกะลามะพร้าว
กะลามะพร้าวเป็นโคมไฟ ที่ปักปากกา ดินสอ เครื่องใช้ภายในบ้าน โดนเฉพาะโคมไฟ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง สร้างสรรค์
วัสดุที่ใช้
1) กะลามะพร้าว
2) หลอดไฟ สายไฟ ปลั๊กไฟ
3) เทปพันสายไฟ
4) ไม้อัดเหลือใช้ คอโคมไฟไม่ใช้แล้ว
5) เครื่องยิงกาว
6) สีไม้โอ๊ก เครื่องมือและอุปกรณ์
7) เลื่อยฉลุ
8) สว่านเจาะ
9) กระดาษทรายหยาบ
10) กระดาษทรายละเอียด
11) ดินสอ / วงเวียน
ขั้นตอนในการทำ
1) นำกะลามะพร้าว 1 ลูกผ่ากลางกะลาแบ่งเป็น 2 ส่วนขนาดไม่เท่ากันให้ส่วนหนึ่งเล็กกว่าอีกส่วนหนึ่งประมาณ 1 ซ.ม
1) นำกะลามะพร้าว 1 ลูกผ่ากลางกะลาแบ่งเป็น 2 ส่วนขนาดไม่เท่ากันให้ส่วนหนึ่งเล็กกว่าอีกส่วนหนึ่งประมาณ 1 ซ.ม
2) นำกะลาส่วนที่เล็กเจาะรูตรงกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว แล้วขัดกะลาให้ มันแล้วทาด้วยสีไม้โอ๊ก
3) นำกะลาส่วนที่ใหญ่กว่าเจาะรูตรงกลางประมาณ 2 นิ้วและเจาะรูด้านข้างขนาดเส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ. ม เพื่อติดสวิสซ์ไฟ
4) นำคอโคมไฟที่ไม่ใช้แล้วมาติดกับกะลาด้านที่ใหญ่โดยติดกาวให้แน่น
5) นำสายไฟติดปลั๊กไฟให้เรียบร้อยแล้วสอดเข้ารูเพื่อติดสวิสซ์ไฟแล้วนำไม้อัดมาปิด ฐานกะลาใหเรียบร้อย
6) นำกะลาส่วนที่เล็กมาติดกับคอโคมไฟด้านบนและสอดสายไฟจากฐานกะลาขึ้นมาให้ เรียบร้อย
7) ตรวจความเรียบร้อยของโคมไฟ
ประโยชน์ที่ได้
1) เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าการออกแบบโคมจากกะลามะพร้าวที่หลากหลายและสามารถสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค
2) สามารถนำไปเป็นอุตสาหกรรมครอบครัวได้
3) เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และสร้างอาชีพเสริมให้เเก่ชาวบ้าน
4) ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5) นำวัสดุธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์
มะพร้าวรองเท้า
รกมะพร้าว หรือเยื่อหุ้มคอมะพร้าว ลักษณะเป็นแผ่นใยหยาบบางๆ ยืดหยุ่นได้ แต่แยกขาดง่าย ใช้ผลิตหัตถกรรมประเภท กระเป๋า หมวก รองเท้าแตะ กล่องใส่ของ ดอกไม้ประดิษฐ์
ไม้กวาดทางมะพร้าว
ไม้กวาดทางมะพร้าว คือ ไม้กวาดที่ทำได้จากก้านใบย่อยของทางมะพร้าว โดยตัดก้านใบย่อยตรงโคนก้านออกจากทางมะพร้าว จากนั้น นำใบมะพร้าวมากรีดแยกแผ่นใบทั้งสองข้างออก ก่อนนำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้น ตัดโคนก้านให้เสมอกัน ก่อนนำมามัดติดเป็นแผงกับด้ามไม้ไผ่
ไม้กวาดทางมะพร้าว เป็นวัสดุทำความสะอาดที่ประดิษฐ์ได้ภายในครัวเรือน นิยมใช้สำหรับกวาดทำความสะอาดลานบ้าน ลานหญ้า สำหรับกวาดเศษดิน ก้อนดิน หิน ทราย เศษใบไม้หรือ เศษมูลฝอยที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ให้กองรวมกัน ก่อนนำไปกำจัด แต่ไม่สามารถกวาดทำความสะอาดฝุ่นขนาดเล็กได้
ทางมะพร้าวที่ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว นิยมใช้พันธุ์พื้นเมือง เพราะใบย่อยมีขนาดใหญ่ และยาว เมื่อนำมากรีดแผ่นใบออกจะได้ก้านใบที่มีขนาดใหญ่ และยาวกว่าก้านใบของมะพร้าวพันธุ์การค้าอื่นๆ
การเลือกใช้ทางมะพร้าว
การทำไม้กวาดทางมะพร้าว จะต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์เป็นสำคัญ ได้แก่
1. ไม้กวาดทางมะพร้าวสำหรับกวาดบนปูนซีเมนต์ จะต้องใช้ก้านใบมะพร้าวที่มีลักษณะอ่อน โค้งตัวได้ดี ได้จากทางมะพร้าวที่ไม่แก่มาก แผ่นใบ และก้านใบยังมีสีเขียวสด
2. ไม้กวาดทางมะพร้าวสำหรับกวาดบนพื้นดิน จะต้องใช้ก้านใบมะพร้าวที่มีลักษณะแข็ง ได้จากทางมะพร้าวที่แก่เต็มที่แล้ว แผ่นใบมีสีเขียวเข้มหรือสีเหลือง และก้านใบมีสีน้ำตาล มีลักษณะแข็ง
วิธีทำไม้กวาดทางมะพร้าว
วัสดุ และอุปกรณ์
1. ก้านใบมะพร้าว ประมาณ 250-300 ก้าน
2. ด้ามไม้ไผ่ ยาว 1-1.5 เมตร
3. มีดหรือกรรไกรเหล็ก
4. ลวด และครีมตัดลวด
5. เชือกไนล่อน และเชือกที่กรีดได้จากแผ่นสายรัดพลาสติก (มีสีต่างๆ)
6. ตะปู ขนาด 1-2 นิ้ว
7. สีน้ำมันกันสนิม
ข้อแนะนำการใช้
1. ขณะใช้ ไม่ควรกดด้ามไม้กวาดมาก เพราะจะทำให้ปลายก้านมะพร้าวหักหรืองอโค้งได้
1. ขณะใช้ ไม่ควรกดด้ามไม้กวาดมาก เพราะจะทำให้ปลายก้านมะพร้าวหักหรืองอโค้งได้
2. หากใช้กวาดบริเวณมีน้ำขัง หลังใช้เสร็จให้นำไม้กวาดวางตากแดด ก่อนเก็บ
3. การวางเก็บไม้กวาด ให้ตั้งด้ามไม้กวาดลง และอิงไว้ข้างกำแพง หรือ นอนวางบนไม้หรือที่รอง ไม่ควรวางไว้บนพื้น โดยเฉพาะพื้นดิน (puechkaset, 2560)
ประโยชน์ของมะพร้าว
มะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
1) น้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้ น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวโดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
2) เนื้อมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
3) กากมะพร้าว ที่เหลือจากการคั้นกะทิยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้
3) กากมะพร้าว ที่เหลือจากการคั้นกะทิยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้
4) ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพง เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า “สลัดเจ้าสัว“
5) ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อหรือนำไปใช้ในการเกษตร
5) ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อหรือนำไปใช้ในการเกษตร
6) น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอาง ในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
7) กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
8) ก้านใบ หรือ ทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
8) ก้านใบ หรือ ทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
9) จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล
10) จาวมะพร้าว ใช้นำมาเป็นอาหารได้ ในจาวมะพร้าวมีฮอร์โมนออกซิน และฮอร์โมนอื่นๆแต่ มี ฮอร์โมนออกซินปริมาณมาก ซึ่งเมื่อนำไปคั้นจากจาวมะพร้าว ไปรดต้นพืชจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้ (วิกิพีเดีย, 2560)
pg slot เกมแตกดีเยี่ยม เล่นเกมสล็อตสมรรถนะสูง สัมผัสการเล่นสล็อตแตกหนัก แตกจริง ที่มีความล้ำยุค เปิดให้เข้ามาเล่นเกมพนันที่ยอดเยี่ยม ค่ายเกมใหม่ที่มีคุณภาพ pg slot เกมแตกดีเยี่ยม นับได้ว่าเป็นอีก
ตอบลบ