พันธุ์มะพร้าว
มะพร้าวไฟ
มะพร้าวน้ำหอม
ภาพที่ 2 มะพร้าวน้ำหอม
(ที่มา : http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=782521.0)
ส่วนต่างๆ ของมะพร้าวน้ำหอมที่นำมาใช้ประโยชน์
มะพร้าวแฝด, ตาลทะเล , มะพร้าวตูดนิโกร หรือ มะพร้าวทะเล มีชื่อในภาษาฝรั่งเศสว่า Coco de mer แปลว่า "มะพร้าวทะเล" เหตุผลที่เรียกอย่างนี้เพราะว่าพวกเดินเรือในอดีตจะพบลูกมะพร้าวทะเลอยู่ในมหาสมุทร แต่ไม่มีใครเห็นต้นของมัน จึงสันนิษฐานว่าคงมีต้นอยู่ใต้ทะเล บ้างก็ไปไกลยิ่งกว่านั้น คือเชื่อว่าคงเป็นผลไม้จากสวรรค์และอาจเป็นผลไม้แห่งความอมตะที่อีฟ ภรรยาอาดัม ถูกหลอกให้กินก็ได้ นาน ๆ ครั้งจะมีผู้พบเห็นมะพร้าวทะเลถูกคลื่นซัดเข้าฝั่ง มะพร้าวทะเลจึงกลายเป็นของแปลกและหายากกว่าเพชรพลอย และผลไม้นี้จะถูกนำไปให้แก่กษัตริย์หรือสุลต่านไว้ประดับบารมีหรือเป็นยาวิเศษรักษาสารพัดโรค
ในปี ค.ศ. 1772 ชาวฝรั่งเศสได้นำทาสเข้ามาทำการเพาะปลูกเครื่องเทศบนเกาะ และเริ่มกลายเป็นที่อยู่อาศัยตั้งแต่นั้นมา
ปัจจุบันมะพร้าวทะเลได้รับการกล่าวถึงในหนังสือกินเนสว่าเป็นเมล็ดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักถึงลูกละ 20 กิโลกรัม กว่าผลจะสุกต้องใช้เวลา 7 ปี กว่าจะออกผลได้ต้องมีอายุ 20 ปีถึง 40 ปี และมีอายุยืนถึง 400 ปี แบ่งออกเป็นเพศผู้และเพศเมีย ผลตั้งบนดินหนึ่งปีถึงจะมีรากแก้วงอกออกมาแล้วชอนไชเข้าไปในดิน มีความยาวหลายฟุต ก่อนที่จะเริ่มมีใบออกมาปีละ 1 ใบ เพศผู้มีลำต้นสูงถึง 30 เมตร ในปี ค.ศ. 1983 องค์การยูเนสโกได้ระบุให้ Valee de Mai ป่าที่มีต้นมะพร้าวทะเลขึ้น เป็นป่าสงวน
ภาพที่ 6 ซออู้
ภาพที่ 1 มะพร้าวไฟ
(ที่มา : https://coconut53.wordpress.com/ประวัติความเป็นมาของมะ/รายชื่อพันธุ์มะพร้าว/มะพร้าวไฟ/)
มะพร้าวไฟมีถิ่นกำเนิดในประเทศศรีลังกา เป็นมะพร้าวที่มีเปลือกสีเหลืองทอง มีสรรพคุณเช่นเดียวกับมะพร้าวทั่วไป ส่วนสรรพคุณทางสมุนไพรไทยระบุว่า ผู้ที่ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ถ้าดื่มน้ำมะพร้าวไฟแล้วจะดีขึ้น เพราะช่วยขับไขมันในร่างกายในเส้นเลือด แทนตับที่บกพร่องในขณะที่ป่วย และในตำรายาโบราณของไทยในบางฉบับระบุว่า สามารถช่วยแก้บิด แก้ท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด แต่ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมควรมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี และไม่ควรมีฝนตกน้อยกว่า 50 มิลลิเมตร เกิน 3 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส ดินไม่เปรี้ยวหรือเค็มจัด
การปลูกหากพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังจำเป็นต้องยกร่องให้สูงกว่าระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 ซม. คันร่องกว้าง 5-8 เมตร ร่องลึก 1 เมตร กว้าง 1 1/2-2 เมตร ถ้าเป็นพื้นที่รกร้างแบบที่ดอน ต้องถางให้เตียน โค่นต้นไม้และขุดตอออกให้หมด ระยะปลูกที่ระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถว เท่ากับ 6×6 เมตร ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร ควรขุดในฤดูแล้ง ตากดินไว้ 7 วัน รองก้นหลุมด้วยกาบมะพร้าวใช้ดินเคล้ากับปุ๋ยคอกผสมลงไป แล้วทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก คือหลังจากฝนตกหนัก 2 ครั้ง เอาต้นมะพร้าวลงหลุมเอาดินกลบเหยียบด้านข้างให้แน่น ปักหลักกันลมโยก แล้วรอการเจริญเติบโต (เดลินิวส์, 2561)
มะพร้าวน้ำหอม
ภาพที่ 2 มะพร้าวน้ำหอม
(ที่มา : http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=782521.0)
ส่วนต่างๆ ของมะพร้าวน้ำหอมที่นำมาใช้ประโยชน์
1) ราก เป็นระบบรากฝอย ทั้งรากอ่อนและรากแก่ใช้ต้มเป็นยารักษาโรคของแพทย์เฉพาะทาง
2) ทางมะพร้าว (แกนใบ) ใช้เป็นเชื้อเพลิง
3) ใบและก้านใบ ทั้งใบแก่และใบอ่อนทำเป็นภาชนะใส่ขนม (ใช้ห่อหรือมัดอาหารที่ปรุง) ทำไม้กวาด และใช้มุงหลังคาโรงเรือน
4) ช่อดอก หรือจั่น มีน้ำหวานใช้ทำน้ำตาลสดหรือนำไปเคี่ยวทำน้ำตาลปึก (น้ำตาลมะพร้าวที่เคี่ยวจนแห้งแล้วปล่อยให้แข็งเป็นผลึก) ส่วนน้ำตาลสด ใช้ดื่มเป็นเครื่องดื่ม หรือนำไปหมักดองทำเป็นน้ำส้ม
5) ผล ผลอ่อน น้ำมีรสหวานหอม ใช้ดื่มเป็นเครื่องดื่มชูกำลัง ชะลอความชรา ในสตรีมีครรภ์ หากดื่มทุกวัน จะช่วยให้ทารกมีผิวพรรณดี และมีสุขภาพแข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงในสตรีวัยทอง และชะลอความชราในชายสูงอายุ
6) เปลือก เปลือกแก่ หรือกาบมะพร้าว นำเส้นใยไปถักทอสำหรับใช้รองรับภาชนะกันแรงกดทับ ส่วนขุยใช้ทำปุ๋ยและเป็นส่วนผสมสำหรับเพาะพันธุ์พืช
7) ยอดมะพร้าว (Coconut cabbage) คือ ส่วนยอดอ่อนของมะพร้าว มะพร้าว 1 ต้น มียอดอ่อนเพียง 1 ยอด ใช้ระยะเวลาเพาะปลูกถึงตัดได้ประมาณ 13 เดือนขึ้นไป หรือเมื่อต้นเจริญเติบโต มีสะโพก ที่โคนต้น เมื่อตัดยอดแล้ว นำมาลอกกาบใบแข็งออก จนเหลือแต่กาบในที่เกาะกันแน่นเป็นยอดสีขาว ถ้าลอกทิ้งไว้นาน จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำ สำหรับการเก็บรักษาให้ใช้กรดมะนาวหรือน้ำมะนาวแช่รักษา และเก็บในอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จะรักษาความสดได้ 7 วัน
ภาคใต้เรียกยอดมะพร้าวว่า หัวมะพร้าว มีลักษณะกรอบมัน รสหวานอ่อนๆ นิยมนำมาประกอบอาหารประเภทต้ม ยำ แกง ผัด ใช้แทนผัก มีราคาสูง เป็นที่ต้องการ ของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การเลือกซื้อยอดมะพร้าวมาประกอบอาหาร ควรเลือกยอดที่ตัดมาใหม่ๆ ไม่มีบาดแผล ช้ำ เหี่ยว และปราศจากสารฟอกขาว ซึ่งพบมากในยอดมะพร้าวที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้ว สารพวกนี้อาจเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้แพ้ ผื่นคัน ท้องเสีย (วิกิพีเดีย, 2560)
มะพร้าวทะเล
ภาพที่ 3 มะพร้าวทะเล
(ที่มา : http://wowboom.blogspot.com/2011/09/love-nut.html)มะพร้าวแฝด, ตาลทะเล , มะพร้าวตูดนิโกร หรือ มะพร้าวทะเล มีชื่อในภาษาฝรั่งเศสว่า Coco de mer แปลว่า "มะพร้าวทะเล" เหตุผลที่เรียกอย่างนี้เพราะว่าพวกเดินเรือในอดีตจะพบลูกมะพร้าวทะเลอยู่ในมหาสมุทร แต่ไม่มีใครเห็นต้นของมัน จึงสันนิษฐานว่าคงมีต้นอยู่ใต้ทะเล บ้างก็ไปไกลยิ่งกว่านั้น คือเชื่อว่าคงเป็นผลไม้จากสวรรค์และอาจเป็นผลไม้แห่งความอมตะที่อีฟ ภรรยาอาดัม ถูกหลอกให้กินก็ได้ นาน ๆ ครั้งจะมีผู้พบเห็นมะพร้าวทะเลถูกคลื่นซัดเข้าฝั่ง มะพร้าวทะเลจึงกลายเป็นของแปลกและหายากกว่าเพชรพลอย และผลไม้นี้จะถูกนำไปให้แก่กษัตริย์หรือสุลต่านไว้ประดับบารมีหรือเป็นยาวิเศษรักษาสารพัดโรค
ปัจจุบันมะพร้าวทะเลได้รับการกล่าวถึงในหนังสือกินเนสว่าเป็นเมล็ดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักถึงลูกละ 20 กิโลกรัม กว่าผลจะสุกต้องใช้เวลา 7 ปี กว่าจะออกผลได้ต้องมีอายุ 20 ปีถึง 40 ปี และมีอายุยืนถึง 400 ปี แบ่งออกเป็นเพศผู้และเพศเมีย ผลตั้งบนดินหนึ่งปีถึงจะมีรากแก้วงอกออกมาแล้วชอนไชเข้าไปในดิน มีความยาวหลายฟุต ก่อนที่จะเริ่มมีใบออกมาปีละ 1 ใบ เพศผู้มีลำต้นสูงถึง 30 เมตร ในปี ค.ศ. 1983 องค์การยูเนสโกได้ระบุให้ Valee de Mai ป่าที่มีต้นมะพร้าวทะเลขึ้น เป็นป่าสงวน
ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวทะเล
ในอดีตผู้คนนิยมเอากะลาของมะพร้าวทะเลไปทำเป็นลูกประคำ เรียกในภาษามลายูว่า Buah tasbih koka (ลูกประคำโขะขะ) หรือแบ่งเป็นสองซีก เพื่อทำเป็นภาชนะเรียกว่า กัชกูล ซึ่งพวกฟากีรหรือพวกขอทานจะใช้เหมือนบาตร เพื่อขออาหารจากชาวบ้าน
ลูกประคำโขะขะที่ใช้ในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ไม่ได้ทำมาจากลูกมะพร้าวทะเลจริง แต่ทำมาจากลูกปาล์มชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขนาดใหญ่เท่าไข่ไก่ มีกะลาหนามาก ผลิตในตุรกี อิรัก โดยส่งเข้าซีเรีย ซึ่งมีรูปแบบสวยงาน ส่วนที่ผลิตในอิยิปต์ก็มีรูปแบบที่ไม่ค่อยสวยมากนัก นักศึกษาไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียในประเทศอาหรับ จะพาลูกประคำเหล่านี้มาขายในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีใครทราบว่า ลูกประคำเหล่านั้นไม่ได้ทำมาจากมะพร้าวทะเลจริง
มีความเชื่อเกี่ยวกับลูกประคำโขะขะ เช่น เป็นเครื่องรางของขลัง เป็นยารักษาโรค บางคนซื้อลูกปาล์มจากประเทศอาหรับกลับมาเจียระไนทำเป็นลูกประคำ โดยสำคัญผิดคิดว่าเป็นลูกมะพร้าวทะเล ซึ่งพวกเขาจะเก็บขี้เลื่อยมาขายเป็นยารักษาสารพัดโรค (วิกิพีเดีย, 2560)
มีความเชื่อเกี่ยวกับลูกประคำโขะขะ เช่น เป็นเครื่องรางของขลัง เป็นยารักษาโรค บางคนซื้อลูกปาล์มจากประเทศอาหรับกลับมาเจียระไนทำเป็นลูกประคำ โดยสำคัญผิดคิดว่าเป็นลูกมะพร้าวทะเล ซึ่งพวกเขาจะเก็บขี้เลื่อยมาขายเป็นยารักษาสารพัดโรค (วิกิพีเดีย, 2560)
มะพร้าวซอ
ภาพที่ 5 มะพร้าวซอ
(ที่มา : https://sailomsk.wordpress.com/2016/01/13/thaifiddle/)
เป็นมะพร้าวที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นในแถบจังหวัดสมุทรสงครามมาแต่โบราณ และจัดเป็นพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนใหญ่จะปลูกเพื่อเอากะลา ไปใช้ในการทำซออู้ ซอสามสาย ไม่ได้ปลูกเพื่อกินผล เพราะต้นหนึ่งจะให้ผลไม่ดก 3-5 ผล เท่านั้น ที่สำคัญจะติดผลช้า ใช้เวลาปลูกนานกว่าจะมีผล ลำต้นสูงมาก ชาวบ้านบางครั้งเรียกว่า มะพร้าวโบราณ เวลาติดผลถ้าปล่อยให้ผลโตเต็มที่และแก่จัด เมื่อนำไปปอกเปลือกออกจะ ได้กะลาที่มีรูปทรงสวยงาม เอาไปขายให้ผู้ผลิตซออู้ หรือซอสามสายจะได้ราคาสูงหลายพันบาทต่อหัว หากทำเป็นซออู้หรือซอสามสายสำเร็จแล้ว จะมีเสียง ไพเราะ เป็นที่ต้องการของผู้สะสมเครื่องสายหรือเครื่อง ดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง
มะพร้าวซอ หรือ COCONUT COCOS NUCIFERA LINN. อยู่ในวงศ์ ARECACEAE เป็นไม้ยืนต้นที่คนพื้นบ้านนิยมเรียกว่า มะพร้าวใหญ่ เพราะมีขนาด ของต้นสูงมากนั่นเอง ต้นสูงตั้งแต่ 20-25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน มีรอยแผลเมื่อ ก้านใบหลุดออกไป ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับหนาแน่นบริเวณยอด ยาว 4-6 เมตร ใบย่อยเป็นรูปพัดจีบ
ดอก ออกเป็นช่อระหว่างก้านใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง ใบประดับผลยาว 60-90 ซม. “ผล” รูปทรงกลม ขนาดใหญ่ ซึ่งกะลาของ “มะพร้าวซอ” จะแตกต่างจากกะลา ของมะพร้าวทั่วไป คือ เมื่อปอกเปลือกออกแล้วจะเห็นชัดเจน โดยกะโหลกจะเป็นรูป สามเหลี่ยมมีเส้นแบ่งกะโหลกเป็น 3 ส่วน ส่วนหน้าจะโหนก และ ปลายโค้ง สวยงามมาก กะโหลกใหญ่ โดยส่วนหน้าจะแบ่งออกเป็น 2 โหนกดูแปลกมาก นิยมใช้ทำซออู้ หรือซอสามสาย ตามที่กล่าวข้างต้น จึงถูกเรียกชื่อว่า “มะพร้าวซอ” ส่วนเนื้อกับน้ำรับประทาน ได้ แต่ไม่นิยม ขยายพันธุ์ด้วยผล
เครื่องดนตรีที่ทำจากมะพร้าวซอ
ซอ
(ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ซออู้)
เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดสีประเภทเครื่องสายอีกประเภทหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสาย ใช้ประกอบวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ มีหน้าที่หยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง กระตุ้นอารมณ์ให้สนุกสนาน โดยเฉพาะในการบรรเลงประกอบการแสดงหุ่นกระบอก และการร้องแอ่วให้สอดประสานกลมกลืนกัน ซอที่ใช้อยู่ในวงดนตรีไทย มี 3 ชนิดคือ ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้
ขั้นตอนการทำซอ
1) การเตรียมกะโหลกซอ มะพร้าวซอจากการสัมภาษณ์คุณสมพร เกตุแก้ว กะลามะพร้าวที่ใช้ทำกะโหลกซอต้องใช้ผลของมะพร้าวซอ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกะลามะพร้าวธรรมดา คือด้านที่ไม่มีรูจะโป่งพองออกมาเป็น 3 พู จะอุ้มเสียงได้ดี
1) การเตรียมกะโหลกซอ มะพร้าวซอจากการสัมภาษณ์คุณสมพร เกตุแก้ว กะลามะพร้าวที่ใช้ทำกะโหลกซอต้องใช้ผลของมะพร้าวซอ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกะลามะพร้าวธรรมดา คือด้านที่ไม่มีรูจะโป่งพองออกมาเป็น 3 พู จะอุ้มเสียงได้ดี
2) การประกอบซอ นำกะโหลกซอที่เตรียมไว้เจาะกะโหลกโดยวัดจากหนังหน้าซอด้านบนเข้าไป 1 นิ้วครึ่ง และเจาะด้านล่างกะโหลก โดยวัดจากหนังหน้าซอเข้าไป 1 นิ้วกับ 2 กระเบียด สอดคันทวนเข้าไปในรูบนผ่านกะโหลกออกรูล่างใต้กะโหลก นำลูกบิดทั้ง 2 ลูกเสียบเข้าที่คันทวนด้านบน ตรงลูกบิดขึงสายซอสองเส้น ซึ่งทำด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว ผูกคล้องปลายคันทวนด้านล่างสุดลูกบิดอันบนเสียงทุ้ม ลูกบิดอันล่างเสียงเอก ใต้ลูกบิดอันล่างใช้เชือกว่าวรัดสายซอกับตัวคันทวนเข้าด้วยกัน เรียกว่า “รัดอก” ใส่หมอนรองสายหรือหมอนหน้าซอ บางทีเรียกว่า “หย่อง” ใช้หนุนระหว่างหน้าซอกับสายซอ เพื่อให้ได้เสียงกังวาน เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
พิณเพียะ
ชาวล้านนาสมัยก่อนเรียก พิณเปี๊ยะ สั้น ๆ ว่า “เปี๊ยะ” ในภาษาเหนือแปลว่า อวด หรือ เทียบเชิง คนที่เล่นเปี๊ยะได้จะดูโก้มากกว่าคนที่เล่นดนตรีพื้น ๆ อย่างสะล้อซอ ซึ่งเวลาเล่นแต่ละครั้งจึงเหมือนเล่นอวดเป็นการเล่นประชันแข่ง จึงทำให้สันนิษฐานว่า ชื่อ “พิณเปี๊ยะ” หรือ “เปี๊ยะ” อาจจะมีที่มาด้วยเหตุนี้ก็ได้
ส่วนใครเป็นคนประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันแน่ชัด ได้แต่สันนิษฐานกันว่าพิณเปี๊ยะพัฒนามาจากพิณน้ำเต้าที่พวกพราหมณ์เป็นผู้ทำขึ้นเล่นก่อน เพื่อประกอบการสวดโองการอ่านภควคีตา ต่อมาพราหมณ์ได้เผยแพร่เข้าสู่สุวรรณภูมิเมื่อประมาณพันกว่าปีมาแล้ว ดนตรีชนิดนี้จึงติดตามเข้ามาด้วย ช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาไม่ปรากฏว่ามีการเล่นพิณเปี๊ยะในแถบภาคกลางและภาคอีสาน แต่ยังคงเล่นอย่างแพร่หลายในภาคเหนือมาจนถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่เศรษฐกิจและวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาแทนที่ วิถีชีวิตของสังคมเกษตรกรรมในชนบทเริ่มเปลี่ยนแปลงไป พิณเปี๊ยะเริ่มหายไปเพราะไม่ค่อยมีใครหัดหรือทำขึ้นมาเล่นอีก (ครรชิตพล บุญธรรม, 2553)
มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย
(ที่มา : http://siampatana.tarad.com/article-th-80527-ทำหมันมะพร้าวกะทิ+เพื่อ+กะทิแท้+100+เปอร์เซ็นต์+งานวิจัยที่จับต้องได้.html)
มะพร้าวชนิดนี้นำเข้าจากประเทศมาเลเซียนานแล้ว มีลักษณะพิเศษประจำพันธุ์คือความสูงของต้นจะเตี้ยประมาณ 2 เมตรกว่าๆ เท่านั้น ทำให้ผู้ปลูกสามารถยืนเก็บผลใช้ประโยชน์ได้ง่าย ไม่ต้องจ้างคนปีนเก็บผลเหมือนกับต้นมะพร้าวแกงพันธุ์ดั้งเดิมที่จะมีขนาดความสูงของต้น 8-10 เมตรขึ้นไป เนื้อผลของ “มะพร้าวเหลืองมลายู” จะมีความหนามาก ผลแก่เมื่อผ่าขูดเอาเนื้อไปคั้นเอาน้ำกะทิจึงให้น้ำเยอะกว่าเนื้อจากผลแก่ของมะพร้าวกะทิพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน และที่เป็นจุดขายของมะพร้าวเหลืองมลายู ได้แก่ หลังปลูกแค่ 3 ปี สามารถติดผลชุดแรกและเปลือกผลเป็นสีเหลืองสวยงามน่าชมได้แล้ว ซึ่งมะพร้าวกะทิพันธุ์ดั้งเดิมต้องใช้เวลาปลูกนานหลายปีจึงจะติดผลให้เก็บใช้ประโยชน์ได้ จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะพร้าวเหลืองมลายู” และเป็นที่นิยมปลูกเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ (ไทยรัฐ, 2560)
มะพร้าวพวงร้อย
(ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/423694 )
มะพร้าวชนิดนี้จัดเป็นสายพันธุ์ที่ติดผลดกและมีน้ำหวานที่สุดของมะพร้าวที่มีอยู่ทั่วไป โดยหนึ่งหางหนูที่แตกจากแกนทะลายจะมีผลได้ถึง 1-5 ผล เป็นพวง จึงทำให้ในหนึ่งทะลายมีหางหนูแตกออกมาจากแกนทะลายหลายทาง สามารถติดผลได้ไม่น้อยกว่า 50-70 ผล ต่อหนึ่งทะลายเหมือนกับผลร้อยติดกันเป็นพวงน่าชมมาก และที่เด่นคือความสูงของต้นจะไม่เกิน 3 เมตร ทำให้ง่ายต่อการเก็บผลผลิต นอกจากนี้ “มะพร้าวพวงร้อย” มีความพิเศษคือ แม้ขนาดของผลจะเล็กเท่าๆกับผลของมะพร้าวน้ำหอมทั่วไป แต่น้ำภายในผลจะมีรสชาติหวานกว่าน้ำมะพร้าวชนิดอื่น และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อผลยังมีความหนากรอบ เหมือนกับการซ่อนรูป สามารถทานได้เต็มผล ปัจจุบันมะพร้าวพวงร้อยนิยมนำผลอ่อนไปทำห่อหมกและทำสังขยามะพร้าว ขยายพันธุ์ด้วยผล (ไทยรัฐ, 2556)
มะพร้าวกะทิ
(ที่มา : https://www.sentangsedtee.com/farming-trendy/article_45264)
มะพร้าวกะทิเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ มีในหมู่ชาวสวนว่า มะพร้าวในสวน 50 ต้นจะมีมะพร้าวกะทิอยู่ประมาณ 3 ลูกเท่านั้น มะพร้าวกะทิเกิดจากการกลายพันธุ์ของมะพร้าวธรรมดาทั่วไป มีเนื้อนุ่มหนา น้ำข้นเหนียว เพาะไม่งอก ลักษณะของมะพร้าวกะทิถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปยังรุ่นลูก ต้นมะพร้าวกะทิที่พบในสวนมะพร้าวทั่วไปจะเป็นต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิ เนื่องจากเกษตรกรนำผลมะพร้าวธรรมดาจากต้นมะพร้าวกะทิลูกผสมไปเพาะขยายพันธุ์ ต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิในธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์มะพร้าวประเภทต้นสูงและปลูกกระจัดกระจาย ด้วยเหตุนี้ชาวสวนมะพร้าวจึงมักถือว่าการที่มะพร้าวในสวนออกลูกเป็นมะพร้าวกะทินั้นเป็นผลพลอยได้มากกว่า แต่มะพร้าวกะทิมีราคาดีและหายาก ตกลูกละ 15-20 บาท ชาวสวนจึงพยายามที่จะปลูกมะพร้าวกะทิ โดยใช้วิธีเอาผลมะพร้าวธรรมดาในต้นที่มีประวัติเคยออกลูกเป็นมะพร้าวกะทิมาปลูก เมื่อมะพร้าวต้นดังกล่าวโตขึ้น จะมีโอกาสให้ลูกเป็นมะพร้าวกะทิเช่นเดียวกัน (ปรีดา สาระเห็ด, 2551)
(ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/374796)
มะพร้าวพวงทอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นิยมปลูกเฉพาะถิ่น มีความพิเศษคือ ต้นเตี้ย ระยะปลูกให้ผลเร็วเพียง 2 ปีครึ่งหรือ 3 ปีเท่านั้น หนึ่งทะลายมีผลดกไม่น้อยกว่า 40-50 ผล เปลือกผลเป็นสีเหลืองอมขาวตั้งแต่ผลยังมีขนาดเล็กจนแก่จัด จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะพร้าวพวงทอง”
ส่วนน้ำจะมีรสชาติหวานและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวไม่เหมือนน้ำมะพร้าวพันธุ์ทั่วไปคือ กลิ่นจะหอมคล้ายกลิ่นของเผือกต้ม เนื้อในจะนุ่มหวานหนึบ มะพร้าวพวงทองมีลักษณะเหมือนมะพร้าวทั่วไป แต่ลำต้นจะสูงไม่เกิน 2.5-3 เมตรเท่านั้น ลำต้นไม่แตกกิ่งก้าน ใบประกอบออกเรียงสลับหนาแน่นที่ยอดของต้น ใบย่อยรูปพัดจีบออกสลับถี่ๆ ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมรี คล้ายผลมะพร้าวพวงร้อยชนิดที่ผลเป็นสีเขียว แต่เปลือกผลจะนิ่มกว่า น้ำและรสชาติหวานหอม ขยายพันธุ์ด้วยผล (นายเกษตร, 2556)
มะพร้าวสีสุก
มะพร้าวสีสุก เป็นมะพร้าวพันธุ์เตี้ย ลักษณะเด่นคือ ลำต้น, ผลสีส้ม (สีหมากสุก) น้ำหวาน เปลือกนิ่ม เหมาะสำหรับปลูกไว้เป็นไม้มงคลและรับประทาน (Nanagarden, 2552)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น