การละเล่นที่เกี่ยวกับมะพร้าว
เดินกะลา
ภาพที่ 31 เดินกะลา
(ที่มา : http://www.nextsteptv.com/budsaba/เดินกะลา/)
กะลามะพร้าวคนละ 2 อัน
เชือกยาวประมาณ 1 เมตร
เชือกยาวประมาณ 1 เมตร
นำกะลาที่ล้างสะอาดเจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือกแล้วร้อยเชือกผูกปมให้แน่นหนากันหลุดเวลาเดิน
กติกาการเล่น
ในการแข่งขันผู้ใดเดิน กะลาได้เร็วและไม่ล้มจะเป็นผู้ชนะ หากเป็นการเล่นคนเดียวเด็กจะใช้ จินตนาการในการเล่นของตน เช่น สมมุติว่าเป็นการขี่ม้าหรือเดินรองเท้าส้นสูง เป็นต้น
ให้ขีดเส้นชัยโดยห่างจากเส้นเริ่มต้น 3 เมตรหรือ 5 เมตรหรือตามแต่จะตกลงกัน ผู้เล่นจะต้องขึ้นไปยืนบนกะลาที่คว่ำลงทั้งสองซีก ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบหนีบเชือกไว้ มือจับเชือกดึงให้ถนัด เริ่มเล่นโดยการให้ทุกคนเดินจากเส้นเริ่มต้นแข่งขันกัน ใครที่ถึงเส้นชัยก่อนก็ชนะหรือถ้าไม่เล่นแบบแข่งขันกัน ก็ใช้เล่นเดินในสวนหรือที่สนามก็ใช้ออกกำลังกายได้
ประโยชน์จากการเล่น
เพื่อความสนุกเพลิดเพลิน, เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และเป็นการฝึกการทรงตัวอีกด้วย การเดินกะลาไม่จำกัดจำนวนฝึกการทรงตัว พัฒนาความแข็งแรงของร่างกายและสนุกสนานเพลิดเพลิน
ตีนเลียน
ภาพที่ 32 การละเล่นตีนเลียน
(ที่มา : http://guideubon.com/news/view.php?t=99&s_id=32&d_id=32)สถานที่เล่น สนาม,ลานกว้าง
อุปกรณ์ ตีนเลียนทำจากไม้กระดานรูปวงกลมซึ่งมีรัศมีประมาณ 8-12 นิ้ว โดยจะเจาะรูตรงกลาง แล้วใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตรผ่าครึ่งยาว 12 นิ้ว เพื่อเชื่อมกับรูกระดานด้วยการตอกตะปู หรือไม้แข็งเป็นเพลา อาจจะสลักขัดไว้ให้แน่นเพื่อไม่ให้หลุดออกมาก็ได้
วิธีเล่น ผู้เล่นจะยืนเรียงกันโดยใช้ไม้ไผ่ด้านปลายวางที่บ่า เมื่อได้ยินสัญญาณบอกให้เริ่มวิ่ง ผู้เล่นจะต้องดันตีนเลียนให้วิ่งออกไป เพื่อให้ถึงเส้นชัยก่อนเป็นคนแรก โดยจะกำหนดระยะทางไว้ที่ 50-100 เมตร
โอกาส ปกติจะนิยมเล่นตีนเลียนในช่วงสงกรานต์หรือประเพณีอื่นๆ เพื่อเป็นการสร้างความสนุกสนาน
ฟ้อนกะโป๋ เป็นการแสดงที่ได้ดัดแปลงมาจากการละเล่นของชาวอีสานใต้ ซึ่งได้แก่ในบริเวณจังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เป็นการแสดงที่มีความสนุกสนานรื่นเริง โดยใช้กะลาที่ขัดผิวจนมัน เป็นอุปกรณ์หลักในการประกอบจังหวะและที่น่าสังเกตคือ ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และมาเลเซีย ก็มีการละเล่นเกี่ยวกับการเคาะกะลาเช่นเดียวกัน
ฟ้อนกะโป๋ในแบบฉบับวิทยาลัยนาฏศิลปะร้อยเอ็ด ได้นำการแสดงชุดระบำกะลาของชาวอีสานใต้มาดัดแปลงให้เป็นรูปแบบนิยมของอีสาน เนื่องจากระบำกะลามีจังหวะและท่วงทำนองท่าช้าเนิบนาบ จึงได้แต่งดนตรีขึ้นใหม่ให้มีจังหวะที่สนุกสนานยิ่งขึ้น โดยนำเอาแต่งลายดนตรีมาผสมกับลายเพลงพื้นเมืองอีสานใต้ ได้แก่ ทำนองเจรียงซันตรู๊จน์จนได้ทำนองเพลงที่เป็นลักษณะเฉพาะในการแสดงชุด “ฟ้อนกะโป๋”
การแต่งกาย
– หญิง สวมเสื้อแขนกระบอก ใช้สไบขิดเฉียงไหล่ซ้ายแล้วไปมัดที่เอวด้านขวา นุ่งโจงกระเบน มีผ้าผืนยาวมัดเอว ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้สวมเครื่องประดับเงินประเกือม
– ชาย สวมเสื้อผ้าแพรแขนสั้น นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าสไบขิดพาดไหล่มีผ้าผืนยาวมัดเอว สวมสร้อยคอและกำไลเงิน (coconut53, ม.ป.ป.)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น